1. ภูมิลักษณ์ภาคเหนือ

ภูมิประเทศภาคเหนือพิจารณาเป็นเขตภูมิลักษณ์ ได้ดังนี้
1.1 เขตเทือกเขาและหุบเขาตะวันตก ได้แก่ พื้นที่เทือกเขาและหุบเขาด้านตะวันตกของภูมิภาค ครอบคลุมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและบ่างส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยเทือกเขาถนนธงชัย ซึ่งแทรกสลับด้วยหุบเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา ที่สำคัญได้แก่ แอ่งแม่แจ่ม แอ่งปาย แอ่งแม่ฮ่องสอน และแอ่งแม่สะเรียงเขตภูมิลักษณ์นี้มีโครงสร้างธรณีของหินแกรนิตเป็นหินฐาน ซึ่งถูกปิดทับด้านบนด้วยหินตะกอน และหินแปรต่างๆเช่น หินทราย หินปูนเนื้อต่างๆ
หินกรวดมน หินดินดาน หินเชิร์ต นอกจากนี้ยังมีหินแปรชนิดหินไนส์และหินชีสต์ปิดประกบ แทรกสลับอยู่เป็นตอนๆ
ขณะที่ตามหุบเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาสะสมด้วยตะกอนน้ำพายุควอเทอร์นารีที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรมในแอ่งที่ราบ ดังนั้นจึงพบแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ในแอ่งที่ราบต่างๆ เช่น แอ่งแม่ฮ่องสอน แอ่งแม่สะเรียง เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตเทือกเขาและหุบเขาตะวันตก คือ
1) เป็นเขตเทือกเขาสลับซับซ้อนและมีระดับสูงที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยเทือกเขาถนนธงชัยตะวันออกเทือกเขาถนนธงชัยกลาง และเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก
2) เป็นเขตที่มีพุน้ำร้อนปรากฏอยู่มาก ที่สำคัญ เช่น พุน้ำร้อนผาบ่อง พุน้ำร้อนโป่งสัก
จังหวัดแม่ฮ่องสอนพุน้ำร้อนฝาง พุน้ำร้อนเทพพนม
จังหวัดเชียงใหม่
เป็นต้น พุน้ำร้อนดังกล่าวให้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิต กระแสไฟฟ้า และสามารถใช้เพื่อท่องเที่ยวได้
1.2 เขตเทือกเขา – สลับแอ่งตอนกลาง ได้แก่พื้นที่เทือกเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาตอนกลางของภูมิภาคครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงราย
พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เขตนี้ประกอบด้วยเทือกเขาที่สำคัญคือ เทือกเขาแดนลาวทางตอนเหนือ และเทือกเขาผีปันน้ำ เขตนี้มีโครงสร้างธนณีที่ซับซ้อน มีหินแกรนิตเป็นฐานแกน ปิดทับด้วยหินตะกอนและหินแปรชนิดต่างๆ เช่น หินทราย หินดินดาน หินปูน หินฟิลไลต์ หินชีสต์ เป็นต้น บางส่วนมีการแทรกซ้อนขึ้นมาของหินอัคนีภายนอก ชนิดหินบะซอลต์ หินไรโอไลต์
และหินแอนดีไซต์ เช่น ในเขตจังหวัดลำปาง มีปรากฏซากภูเขาไฟหินบะซอลต์อยู่หลายแห่ง เป็นต้น เขตนี้ยังมีหุบเขาแทรกสลับอยู่ระหว่างสันเขาและมีแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งเป็นศูนย์รวมของสายน้ำและตะกอนวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังจากหินและแร่ในภูเขา ซึ่งถูกพาเคลื่อนย้ายมากับสายน้ำ ทำให้ดินในแอ่งที่ราบมีความสมบูรณ์ จึงเป็นเขตเกษตรกรรมที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะการปลูกผลไม้และพืชผัก
1.3 เขตเทือกเขา – สลับแอ่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่เทือกเขา ทิวเขา หุบเขา และแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาด้านตะวันออกครอบคลุมเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และเนื้อที่บางส่วนของจังหวัดพะเยาและเชียงรายประกอบด้วยภูมิประเทศหลัก
คือ เทือกเขาหลวงพระบางและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตเทือกเขาสลับแอ่งตะวันออก คือ
1) เทือกเขาเขตนี้มีลักษณะธรณีส่วนใหญ่เป็นหินตะกอน ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบาง
ที่เป็น พรมแดนธรรมชาติระหว่างไทย – ลาว
2) มีภูมิประเทศทุรกันดารปรากฏอยู่ตามขอบแอ่ง ไม่เหมาะทำการเกษตร แต่อาจใช้เป็นภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวได้ เช่น เสาดินนาน้อย
จังหวัดน่าน แพะเมืองผี
จังหวัดแพร่ เป็นต้น
1.4 เขตที่ราบสลับทิวเขาลุ่มน้ำโขง ได้แก่ พื้นที่ราบสลับทิวเขาทางตอนเหนือของภูมิภาค มีแม่น้ำสาย สำคัญคือแม่น้ำอิงและแม่น้ำกก โดยแม่น้ำทั้งสองรวมทั้งแควสาขาไหลจากที่สูงตอนกลางไปลงที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงทางตะวันออก เขตนี้มีทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา คือ กว๊านพะเยา

ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตที่ราบสลับทิวเขาลุ่มน้ำโขง คือ
1) เป็นที่ราบระหว่างภูเขาผืนใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ครอบคลุมที่ราบของจังหวัดพะเยาต่อเนื่องไปจนถึงที่ราบจังหวัดเชียงราย เป็นปัจจัยทำให้เขตนี้มีเกษตรกรรมในที่ราบอยู่กว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่ทำนาปลูกข้าวจะมีมากที่สุดในภาคเหนือ
2) อยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่ไหลลงแม่น้ำโขงทางตอนเหนือ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเกือบทั้งหมดของภาคเหนือจะวางตัวและมีทิศทางไหลของสายน้ำในแนวเหนือ – ใต้ ตามการวางตัวของระบบเทือกเขาและทิวเขา โดยมีเทือกเขาผีปันน้ำทำหน้าที่ตามธรรมชาติในการปันน้ำให้ไหลลงใต้สู่ที่ราบภาคกลาง ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน กับแม่น้ำที่ไหลขึ้นเหนือลงสู่แม่น้ำโขง คือ แม่น้ำกกและแม่น้ำอิง
2. ภูมิลักษณ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิประเทศภาคเหนือพิจารณาเป็นเขตภูมิลักษณ์ ได้ดังนี้
2.1 เขตแนวภูเขาขอบภูมิภาค เป็นเขตภูเขาขอบที่ราบสูงโคราช ทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ โดยขอบด้านตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาพังเหย ส่วนขอบด้านใต้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรักแนวภูเขาเขตนี้ทำหน้าที่เป็นพรมแดนธรรมชาติ แยกที่ราบสูงโคราชออกจากที่ราบภาคกลางและที่ราบต่ำกัมพูชา ภูเขาส่วนใหญ่เป็นภูเขารูปอีโต้
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตแนวภูเขาขอบภูมิภาค คือ
1) เป็นแหล่งต้นน้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำชี
แม่น้ำเหลือง แม่น้ำเลย น้ำพอง น้ำพรม ลำน้ำชีแม่น้ำมูล ห้วยลำปลายมาศห้วยทับทัน
ลำโดมใหญ่ รวมทั้งแม่น้ำโขง เป็นต้น
2) เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ เนื่องจากการมีภูเขาระดับสูงมากทำให้การเดินทางเข้าถึงยากการเข้าไปตัดไม้ของชาวบ้านจึงยากด้วย
จึงทำให้มีป่าไม้เหลืออยู่มากในบริเวณภูเขา
3) เป็นแหล่งวัตถุต้นกำเนิดดินให้กับที่ดอนและที่ราบ เมื่อหินและแร่ในภูเขาผุพังตามธรรมชาติจะถูกสายน้ำพาลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงโลก
ทำให้ธาตุอาหารมาสะสมอยู่ในที่ดอน ที่ราบ
และที่ลุ่มพัฒนาเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ
4) เป็นแหล่งอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น อุทยานแห่งชาติภูเรือ
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นต้น

2.2 เขตแนวภูเขาตอนกลางของภูมิภาค เขตแนวภูเขาตอนกลางของภูมิภาค ได้แก่ เขตเทือกเขาภูพาน ที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงใต้ –ตะวันตกเฉียงเหนือ
ซึ่งอยู่เกือบตรงกลางของภูมิภาคค่อนขึ้นมาทางเหนือ ทำหน้าที่แบ่งแผ่นดินอีสานออกเป็นแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร
โดยแอ่งโคราชมีขนาดเนื้อที่มากกว่าแอ่งสกลนคร ประมาณ 3 เท่าแต่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางน้อยกว่า
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นแนวปะทะเมฆฝนตามธรรมชาติจากพายุดีเปรสชันทำให้พื้นที่หน้าภูเขาในจังหวัดบริเวณแม่น้ำโขงมีปริมาณฝนมาก
2.3 เขตที่สูงเขาโดดที่สูงเขาโดด เป็นภูมิประเทศที่ประกอบด้วยลักษณะภูมิประเทศที่สูงกับลักษณะภูมิประเทศภูเขาโดดๆจึงหมายถึง
ลักษณะภูมิประเทศที่มีระดับสูงมากกว่าบริเวณใกล้เคียงและมีภูเขาโดดแทรกสลับอยู่ด้วย
2.4 เขตโคกโนน โคกและโนน เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ดอนเหมือนกัน
และเป็นลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่อย่างกว้างขวางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ถ้าพิจารณาจากชื่อของหมู่บ้าน ตำบล หรืออำเภอแล้วมักขึ้นต้นด้วยคำว่า โคกหรือ โนน เช่น อำเภอโนนสูง อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอโนนไทย เป็นต้น เรียกว่า ภูมินาม (geographic name)
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตโคกโนน คือ
1) เป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่บนโคกหรือโนน ส่วนน้อยจะอยู่ในที่ราบที่ลุ่มเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมและหนีจากคราบเกลือ
ที่ถูกน้ำชะละลายออกมาตามที่ราบและที่ลุ่ม
2) เป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่และไม้ยืนต้น เช่น มันสำปะหลัง
อ้อย ข้าวฟ่าง ปอแก้ว เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักนอกเหนือจากข้าวเหนียวและข้าวเจ้า

2.5 เขตที่ราบ ที่ราบ เป็นลักษณะภูมิประเทศที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยมาก
ที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่มักถูกน้ำท่วมขังในข่วงน้ำหลาก
และแห้งขอดในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะในที่ราบแอ่งโคราชที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่จะใช้ปลูกข้าว
ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวและเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ประเภทโคและกระบือ
3. ภูมิลักษณ์ภาคกลาง

ภูมิประเทศภาคกลาง พิจารณาเป็นเขตภูมิลักษณ์ได้ดังนี้
3.1 เขตภูเขาด้านตะวันออก ครอบคลุมเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันตกทั้งหมดและพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันออกและเทือกเขาดงพญาเย็น(เดิม)
อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลพบุรี
และสระบุรีเขตเทือกเขาดังกล่าวมีความสำคัญตรงที่เป็นที่สูงตอนกลางของประเทศ
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตภูเขาด้านตะวันออก คือ
1) เป็นพื้นที่สนับสนุนปริมาณน้ำของแม่น้ำน่านและแม่น้ำป่าสัก โดยแม่น้ำทั้ง 2 สาย ถือเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติสำคัญที่หล่อเลี้ยงที่ราบภาคกลาง
ถึงแม้ว่าแม่น้ำน่านจะมีต้นน้ำอยู่ใน เขตจังหวัดน่านในภาคเหนือ
และมีแม่น้ำป่าสักมีต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดเลยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ตาม แต่แม่น้ำทั้ง 2 ก็ได้รับปริมาณน้ำส่วนหนึ่งจากภูเขาสูงเขตนี้

2) เป็นแหล่งสนับสนุนตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินในที่ราบ ภูเขาด้านตะวันออกประกอบ ด้วยหินหลากหลายชนิดซึ่งเมื่อหินเหล่านี้ผุพังจะเป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน
และถูกสายน้ำพามาสะสมในที่ราบช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ
โดยเฉพาะข้าว
3) เป็นแหล่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอยู่มาก เช่น อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นต้น
4) เป็นแนวปะทะเมฆฝนตามธรรมชาติ ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณด้านหน้าภูเขาตั้งแต่เขตลาดเชิงเขาจังหวัดนครนายกไปจนตลอดจังหวัดพิษณุโลก
5) เป็นแหล่งอุตสาหกรรมซีเมนต์และโรงงานเซรามิกที่สำคัญ เนื่องจากเขตภูเขาตะวันออกมีหินปูนที่เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมซีเมนต์อยู่มาก
โดยเฉพาะในเขตอำเภอมวกเหล็กและแก่งคอย
จังหวัดสระบุรีและมีหินไรโอไลต์ที่สลายตัวแล้วให้แร่ดินขาว
ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมเซรามิกอยู่มากโดยเฉพาะแถบ จังหวัดสระบุรีและนครนายก
6) เป็นแหล่งปลูกมะขามหวานที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ที่มีหินอัคนีชนิดหินไรโอไลต์แอนดีไซต์
และบะซอลต์ ที่ผุพังแล้วให้ธาตุอาหารหลักชนิดโพแทสเซียมแก่ดิน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ช่วยให้ผลไม้ต่างๆมีรสหวานมากขึ้น
3.2 เขตภูเขาด้านตะวันตก เขตภูเขาด้านตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนในเขตจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยตอนล่าง เขตนี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำแควสาขาของแม่น้ำปิงแม่น้ำเจ้าพระยา
และแม่น้ำท่าจีน ที่สำคัญ เช่น คลองวังม้า ห้วยขาแข้ง ห้วยทับเสลา แม่น้ำสะแกกรัง เป็นต้น
เป็นที่พื้นป่าไม้ผืนใหญ่ ของประเทศที่ต่อเนื่องกับภาคตะวันตก
เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติพุเตย เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตภูเขาด้านตะวันตก
คือ
1) เป็นแหล่งหินก่อสร้างสำคัญ ได้แก่ หินแกรนิตที่จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี หินปูนใช้เป็นหินประดับที่จังหวัดกำแพงเพชร
และหินอ่อนที่จังหวัดกำแพงเพชร
2) เป็นพื้นที่ผืนป่ามรดกโลก ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่นเรศวรเนื่องจากมีลักษณะพิเศษคือ “เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์หายากและเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก”(กรมศิลปากร.2543 : 44)
3) เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญ เช่น อ้อย
มันสำปะหลัง ข้าวโพด ทานตะวัน ข้าวฟ่าง สับปะรด
เป็นต้น
3.3 เขตที่ดอนเขาโดดตอนกลาง ได้แก่ ที่ดอนเขาโดดพยุหะคีรี – ตาคลี – นครสวรรค์
ที่วางตัวตัดผ่านตามขวาที่ราบภาคกลาง ทำให้แบ่งที่ราบภาคกลางออกเป็น
ที่ราบภาคกลางตอนบนกับที่ราบภาคกลางตอนล่าง โดยมีลักษณะเป็นภูเขาเล็กๆ หรือกลุ่มภูเขาเล็กๆ มีระดับความสูงไม่มาก
เนื่องมาจากเป็นภูเขาของหินในยุคเก่าประเภทหินแปรและหินอัคนีภายนอกที่แทรกซอนขึ้นมาบางครั้งมีหินทราย
และหินปูน ที่สำคัญได้แก่ เขาวง เขาคอก ในเขตอำเภอหนองม่วงจังหวัดลพบุรี เขาอิหลัก
เขาชายธง เขาชอนเดื่อเขาสนามชัย เขาตะแบง เขาแม่เหล็ก เขากะลา เขาโยง
และเขาลูกช้าง ในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดนครสวรรค์

3.4 เขตที่ราบภาคกลางตอนบน ได้แก่
พื้นที่ราบตั้งแต่แนวเขตที่ดอนเขาโดดตอนกลางขึ้นไปทั้งหมดในเขตจังหวัดสุโขทัย
พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และนครสวรรค์ วางตัวในแนวเหนือ – ใต้
ประกบข้างด้วยภูเขาสูงด้านตะวันออกและตะวันตก
ที่ราบภาคกลางตอนบนเกิดจากอิทธิพลของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน
รวมทั้งแควสาขาของแม่น้ำทั้ง 3 สายได้พาตะกอนมาทับถม
โดยด้านล่างเป็นตะกอนหินกึ่งแข็งตัวยุคเทอร์เชียรี
ซึ่งมีการสำรวจพบน้ำมันดิบที่ลานกระบือจังหวัดกำแพงเพชรส่วนด้านบนเป็นตะกอนน้ำพา
ยุคควอเทอร์นารีเขตนี้มีการทำไร่และทำสวนในเขตที่ราบเชิงดอน ขณะที่บริเวณที่ราบและที่ลุ่ม
มีการทำนา ทั้งนาปรังและนาปี
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตที่ราบภาคกลางตอนบน
คือ
1) เป็นที่ตั้งแหล่งมรดกโลก
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร คือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
สุโขทัยและกำแพงเพชร สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ใช้ศิลาแดงเป็นวัสดุหลัก
โดยหาได้จากที่ดอนซึ่ง อยู่ตามบริเวณชายขอบที่ราบภาคกลางตอนบน
2) มีเนินตะกอนรูปพัดขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ ครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกของกำแพงเพชร
แนวแคบๆด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร เกิดจากการสะสมของตะกอน
ทำให้ดูเป็นเนินในบริเวณที่ทางน้ำหรือสายน้ำต่างๆมีการเปลี่ยนระดับจากหุบเขาชันสู่ที่ราบจึงทำให้ความเร็วและแรงของกระแสน้ำลดลง
จนไม่สามารถพาตะกอนบางส่วนไปได้
ในที่สุดจึงได้ทิ้งตะกอนเหล่านั้นไว้กระจายออกคล้ายซี่ของพัด เรียกว่า เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan)
3.5 เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบตั้งแต่พื้นที่บริเวณตอนเหนือของอำเภอเมืองอุทัยธานีลงมา
จนถึงบริเวณชายฝั่งก้นอ่าวไทย
1) มีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเป็นบริเวณกว้างขวาง จึงไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ
2) เป็นบริเวณที่เคยเป็นทะเลเก่า ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของเขตจังหวัดสมุทรสาคร
สมุทรสงคราม สมุทรปราการกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก
พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี
รวมทั้งจังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทราของภาคตะวันออก
3) เป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารวัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้างจะเป็นอิฐที่ทำมาจากดินเหนียว
4. ภูมิลักษณ์ภาคตะวันออก

ภูมิประเทศภาคตะวันออก พิจารณาเป็นเขตภูมิลักษณ์ได้ดังนี้
4.1 เขตภูเขาสูง เขตภูเขาสูง เช่นเทือกเขาบรรทัด
เทือกเขาสันกำแพง เขาสอยดาว เขาใหญ่ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตภูเขาสูง คือ
1) เป็นแนวปะทะเมฆฝนตามธรรมชาติ พิจารณาได้ 2 บริเวณกว้างๆ
คือ บริเวณด้านหน้าทิวเขาสอยดาว
และด้านหน้าเทือกเขาบรรทัดในเขตจังหวัดจันทบุรีและตราด โดยเฉพาะที่อำเภอคลองใหญ่
มีปริมาณฝนสูงมากเขตนี้จึงมีพืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา
ส่วนอีกบริเวณอยู่ในเขตรับลมเทือกเขาสันกำแพง
ตอนเหนือของจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว โดยทั้งสองเขตได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้เหมือนกัน
2) เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ เนื่องจากพื้นที่ภูเขาสูงจะได้รับความชื้นจากเมฆที่ลอยมาปะทะ
ทำให้ต้นไม้ได้รับความชื้นจึงมีป่าไม้ประเภทต่างๆ ขึ้นปกคลุมอยู่มาก
3) เป็นแหล่งสนับสนุนตะกอนทรายช่วยสร้างสรรค์หาดทรายที่สวยงาม โดยเฉพาะชายหาดแถบจังหวัดชลบุรี และระยอง จะได้รับตะกอนทรายที่ผุพังจากหินแกรนิต
หินไนส์และหินควอร์ตไซต์จากภูเขาสูงตอนกลางภูมิภาค
4) เป็นพื้นที่ต้นน้ำของสายน้ำในภาคตะวันออก เช่นแม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำเวฬุ
แม่น้ำประแส เป็นต้น
5) เป็นแหล่งสนับสนุนธาตุอาหารให้ดินในที่ราบ เมื่อหินและแร่ธาตุผุพังโดยกระบวนการตามธรรมชาติจะถูกน้ำพัดพามาสะสมในที่ราบและที่ลุ่ม
จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ
6) เป็นพื้นที่อนุรักษ์รูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติทับลาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เป็นต้น
4.2 เขตที่สูง
ที่ดอนและโคกโนน

ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตที่สูง
ที่ดอนและโคกโนน คือ
1) เป็นพื้นที่ไร่ชนิดต่างๆ เนื่องจากเป็นภูมิประเทศที่ดอน
ดินจึงมีความชื้นน้อย
2) เป็นพื้นที่เลี้ยงโคและกระบือ โดนเฉพาะบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราและสระแก้ว
4.3 เขตที่ราบ ที่ราบจะเป็นพื้นที่รับน้ำที่ถูกระบายมาจากภูเขาสูง
ที่ตอนสูง รวมทั้งรับตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่ถูกพัดพาเคลื่อนย้ายจากที่สูง
ทำให้ดินในเขตที่ราบมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งเกษตรกรรม
และตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เช่น ที่ราบฉนวนไทย
ที่ราบลุ่มน้ำ – บางปะกง
เป็นต้น
4.4 เขตชายฝั่ง ภาคตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับทะเลบริเวณอ่าวไทยอยู่ทางด้านตะวันตกและด้านใต้ภูมิภาค
ภูมิประเทศชายฝั่งของภาคตะวันออกมีทั้งชายฝั่งลาดชัน ราบเรียบและราบลุ่ม รวมทั้ง
หาดทราย หาดโคลน หาดเลน และหาดหิน
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตชายฝั่ง คือ
1) เป็นเขตท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ เช่น อ่าวบางแสน
อ่าวพัทยา แหลมแม่พิมพ์ อ่าวคุ้งวิมาน อ่าวคุ้งกระเบน
เป็นต้น
2) เป็นเขตที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ชายฝั่งบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
และชายฝั่งบริเวณท่าเรือมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
4.5 เขตเกาะ คือ
สภาพภูมิประเทศชายฝั่งทะเลที่มีเกาะหลายเกาะมารวมตัวกัน

ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตเกาะ คือ
1) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เกาะสีชัง
เกาะล้าน เกาะไผ่ เกาะคราม เกาะเสม็ด เกาะมันใน เกาะมันกลางเกาะมันนอก
เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก เกาะรัง เกาะขาม เป็นต้น
2) เป็นแหล่งแวะจอดพักและหลบคลื่นลมของเรือ เกาะที่ตั้งอยู่ระหว่างแผ่นดินใหญ่และทะเลลึกมีส่วนช่วยกำบังลมที่พัดเข้าสู่ฝั่ง
บางครั้งเรือขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น เรือประมง เรือขนถ่ายสินค้า เป็นต้น สามารถใช้เป็นที่กำบังลมพายุในทะเลที่พัดผ่านได้
โดยเฉพาะบริเวณเกาะสีชัง
5. ภูมิลักษณ์ภาคตะวันตก

ภูมิประเทศภาคตะวันตก
พิจารณาเป็นเขตภูมิลักษณ์ได้ดังนี้
5.1 เขตเทือกเขาถนนธงชัยตอนล่าง ได้แก่
แนวเทือกเขาถนนธงชัยกลาง ที่ต่อเนื่องจาก อำเภอออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ต่อเนื่องเข้ามาในเขตจังหวัดตากด้านอำเภอท่าสองยาง
แม่ระมาด และสามเงาเทือกเขาถนนธงชัยตอนล่างจะต่อเนื่องจากจังหวัดตากไปจนถึงจังหวัดกาญจนบุรีตอนบนสิ้นสุดที่แนวแม่น้ำแควน้อย
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตเทือกเขาถนนธงชัยตอนล่าง คือ
1) เป็นแหล่งสนับสนุนสายน้ำให้ที่ราบภาคกลาง เช่นแม่น้ำปิง ห้วยขุนแม่ท้อ แม่น้ำวังม้า
แม่น้ำสะแกกรัง เป็นต้น
2) เป็นแหล่งหินตัดประเภทหินแกรนิตที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่จังหวัดตากเขตอำเภอเมืองตากและบ้านตากเนื่องจากบริเวณนี้
มีหินแกรนิตสีสันและเนื้อต่างๆอยู่มาก
เอื้อต่อการทำเหมืองหินเพื่อใช้เป็นวัสดุในงานก่อสร้าง

3) การวางตัวของเทือกเขาทำให้ด้านหลังเทือกเขาแห้งแล้ง ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอสามเงา
บ้านตากเมืองตากและอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก รวมทั้งบริเวณเขตติดต่อกัลป์ภาคกลาง
เป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีน้อยมากที่สุดเขตหนึ่งของประเทศเนื่องจากเป็นเขตเงาฝนของเทือกเขาสูงจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
5.2 เขตเทือกเขาตะนาวศรี
แนวเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวที่พาดผ่านตามแนวชายแดนขนานกับแม่น้ำแควน้อยตั้งแต่ด่านเจดีย์สามองค์
อำเภอสังขละบุรี ผ่านเขตทองผาภูมิ ไทรโยค
แล้วผ่านลงทางใต้ทางด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
แนวเทือกเขาตะนาวศรีเริ่มต้นจากตอนใต้แนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ลักษณะเด่นคือ
เป็นเทือกเขาที่มีหินแกรนิตเป็นหินฐาน
5.3 เขตที่ดอนเขาโดด ได้แก่ พื้นที่ด้านตะวันออกของเขตเทือกเขา ทั้งเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสูงน้อยกว่าตะนาวศรีและเทือกเขาถนนธงชัย จึงเป็นที่สะสมตะกอนที่เคลื่อนตัวมาจากภูเขาโดยลำน้ำพัดพามาทำให้เกิดเป็นภูมิประเทศลาดเชิงเขาประเภทเนินตะกอนรูปพัดส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงสวนขนุน มะม่วง เป็นต้น
5.4 เขตที่ราบและที่ราบลุ่ม พื้นที่ราบและพื้นที่ราบลุ่มเป็นที่สะสมตะกอนน้ำพาของแม่น้ำและแควสาขาทำให้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองและเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี
5.5 เขตชายฝั่งเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่ราบที่ประกอบไปด้วยแนวสันทรายชายฝั่งสลับกับที่ลุ่มระหว่างสันทรายที่ราบดังกล่าวอยู่ในเขตชายฝั่งอำเภอบ้านแหลม ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ทับสะแก
บางสะพาน และบางสะพานน้อย
6.ภูมิลักษณ์ภาคใต้

ภูมิประเทศภาคตะวันตก
พิจารณาเป็นเขตภูมิลักษณ์ได้ดังนี้
6.1 เขตแนวเทือกเขาสูง ได้แก่ เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาสันกาลาคีรี
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตแนวเทือกเขาสูง คือ
1) เทือกเขาสูงเป็นแนวปะทะเมฆฝน ทั้ง
3 เทือกเขามีระดับสูงมากจึงทำให้เป็นแนวปะทะเมฆฝนตามธรรมชาติ เช่น ที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นเขตรับลมของเทือกเขา
ภูเก็ต จากลมมรสุมตะวันตดเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกและตกหนัก

2) เทือกเขาสูงเป็นแหล่งแร่ดีบุกและวุลแฟรม ทั้ง
3 เทือกเขาเป็นแหล่งสินแร่โลหะที่สำคัญ คือ ดีบุกและวุลแฟรม เนื่องจากมีหินแกรนิตเป็นหินฐาน
3) เทือกเขาสูงเป็นพื้นที่ต้นน้ำของภาคใต้ เนื่องจากการเป็นแนวปะทะของเมฆฝนตามธรรมชาติ และปกคลุมด้วยป่าไม้ จึงทำให้เป็นแหล่งกำเนิดและสนับสนุนสายน้ำให้แก่ลำธาร คลอง ห้วย และแม่น้ำสายต่างๆของภาคใต้
4) เทือกเขาสูงเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะป่าดิบชื้นที่เป็นพืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ของภาคใต้ จะถูกปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา เชิงเขา หรือหุบเขาของทั้ง 3 เทือกเขา
6.2 เขตบริเวณพื้นที่สูงตอนกลาง บริเวณพื้นที่สูงตอนกลาง คือบริเวณที่สูงที่เป็นภูเขาโดด
ภูเขาเตี้ย ลาดเชิงเขา
และที่ดอนต่อเนื่องกันเป็นพื้นที่สูงในตอนกลางของคาบสมุทรภาคใต้
หรืออยู่ระหว่างเทือกเขาภูเก็ตกับเทือกเขานครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่ปลูกยางพารา
เนื่องจากการเป็นภูมิประเทศที่สูงและอยู่ในเขตร้อนชื้น จึงทำให้ปลูกยางพาราได้ดี
นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจประเภทปาล์มน้ำมัน และผลไม้ชนิดต่างๆ
6.3 เขตภาคใต้ชายฝั่งทะเลตะวันออก คือ ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่บริเวณอำเภอประทิวจังหวัดชุมพร ไปจนตลอดปาน้ำโก – ลก อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตภาคใต้ชายฝั่งทะเลตะวันออก คือ
1) เป็นชายฝั่งทะเลที่มีที่ราบชายฝั่งกว้างกว่าชายฝั่งทะเลตะวันตก เป็นที่ตั้งของชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
พัทลุง สงขลา ปัตตานี
2) มีลักษณะภูมิประเภทย่อยสันดอนจะงอยทรายปรากฏอยู่ ได้แก่ แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และแหลมโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

3) มีทะเลสาบน้ำเค็มและน้ำกร่อยขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา ทะเลหลวง และทะเลน้อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสงขลาและพัทลุง
6.4 เขตภาคใต้ชายฝั่งทะเลตะวันตก คือชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน
ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดระนองไปจนตลอดจังหวัดสตูล
ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตภาคใต้ชายฝั่งทะเลตก คือ
1) เป็นชายฝั่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอยู่มากและมีชื่อเสียง เช่น หาดป่าตอง
หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน เขาตะปู
เขาพิงกัน เกาะพีพี เป็นต้น
2) เป็นชายฝั่งที่มีที่ราบชายฝั่งทะเลแคบ โดยเฉพาะชายฝั่งแถบจังหวัดระนองและพังงา
จะเป็นชายฝั่งลาดชัน เนื่องจากส่วนใหญ่ที่ไหลเขาติดกับชายทะเล
3) เป็นชายฝั่งที่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่มาก โดยเฉพาะตามปากน้ำปากคลองสบกับทะเล
จะนำเอาตะกอนโคลนเลนหรือทรายแป้งมาสะสม จึงมีป่าชายเลนขึ้นอยู่มาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น