ประเทศไทยมีภูมิอากาศแตกต่างกันเล็กน้อย จัดเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical rainy climates) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. อากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูหรืออากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Savanna climate)
ได้แก่ บริเวณตั้งแต่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน และแล้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน ดังนั้นลักษณะพืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่จึงเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ประเภทป่าผลัดใบ เช่น ทุ่งหญ้าและป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ในภาตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นที่นา แลเป็นที่ตั้งบ้านเรือนเกือบหมดแล้ว
2. อากาศแบบฝนเมืองร้อนตลอดปีหรืออากาศแบบป่าดิบ (Tropical rainy forest)
ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนตกหนักตลอดปี ประมาณ 2,000 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปี ลักษณะพืชพรรณจึงเป็นป่าไม้เขียวชอุ่มทั้งปี จึงเรียกว่าป่าดิบ
3. อากาศแบบฝนเมืองร้อนเกือบตลอดปีหรืออากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Tropical monsoon- climates)
ได้แก่ บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ และทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย จะได้รับฝนมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่าน และมีช่วงที่ฝนน้อยอยู่ 1 เดือนหรือ 2 เดือน ฉะนั้นจึงไม่จัดเป็นฝนตกตลอดปี ลักษณะพืชพรรณเป็นป่าดิบเช่นเดียวกับฝั่งตะวันออก
ภูมิอากาศประเทศไทยได้รับอิทธิพลหรือมีปัจจัยสำคัญจากระบบลมมรสุม กล่าวคือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรเข้าสู่แผ่นดินระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคม โดยนำอากาศร้อนและความชื้นเข้ามา จึงทำให้มีฝนตกกระจายทั่วไป ซึ่งจะตกหนักและตกชุกบริเวณชายฝั่งและด้านรับลม ของเทือกเขาจัดเป็นฤดูฝน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น